Cupping Therapy

Cupping Therapy | การครอบแก้ว บำบัดโรค

การครอบแก้ว (Cupping)

 การครอบแก้วเป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งของแพทย์แผนจีน โดยในสมัยโบราณจะใช้เขาสัตว์หรือกระบอกไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันวัสดุที่ใช้จะเป็นแก้วใสทรงกลม จุดไฟแล้วนำเปลวไฟเข้าไปในแก้วทรงกลมเพื่อให้เกิดสูญญากาศภายในแก้ว แล้วจึงนำมาวางครอบบริเวณต่างๆ บนร่างกาย

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายไว้ว่า ความร้อนจากไฟขณะทำการครอบจะช่วยขับไล่ความเย็นที่อยู่ในเส้นลมปราณ ความเย็นมีกลไกของโรคทำให้การไหลเวียนของลมปราณติดขัดเมื่อเกิดการติดขัดก็จะทำให้เกิดอาการปวด เมื่อครอบเเก้วเเล้วลมปราณภายในร่างกายจะไหลเวียนเป็นไปอย่างปกติ อาการปวดจึงหายไป

เมื่อมองตามหลักวิทยาศาสตร์การครอบแก้วคือการใช้สูญญากาศ ครอบไปยังบริเวณผิวหนัง การที่ผิวหนัง ถูกดูดด้วยแก้วที่เป็นสูญญากาศจะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นอย่างมาก เป็นการปั๊มเลือดเข้าสู่ กล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการครอบเเก้ว หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้น นำมาสู่การที่เนื้อเยื่อได้รับเลือดออกซิเจน มากขึ้น กระบวนการซ่อมแซมจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกหนึ่งวิธีของการครอบแก้วที่นิยมใช้กันคือ การ ครอบแก้วพร้อมกับการเดินแก้ว ลากไปตามแนวเส้นลมปราณหรือตามกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เป็นการยืด กล้ามเนื้อ (Muscle) และ พังผืด (Fascia) ที่ระดับผิว (Superficial) ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวดจาก กลุ่มโรคกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

นับเป็นภูมิปัญญาของคนจีนสมัยโบราณอันชาญฉลาดส่งทอดมาถึงปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายและยังคงได้รับความนิยม สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยในยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้ป่วยกำลังมองหาวิธีบำบัดรักษาร่างกายโดยอาศัยวิธีธรรมชาติเพื่อลดการใช้สารเคมีให้ได้มากที่สุด

การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น  สามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว (เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ) และด้านการส่งเสริมความงามช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด  หลังจากการทำครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้ำ  แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5 – 7  วันและสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหาย

Loading...

ก่อนทำครอบแก้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?

ก่อนทำการครอบแก้ว ควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยการรับประทานอาหารตามปกติ ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ

ครอบแก้วทำอย่างไร ?

แพทย์สอบถามอาการผู้ป่วย และจับชีพจร (แมะ) เพื่อวินิจฉัยโรค จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยใช้แก้วสีใสปลอดเชื้อ อาศัยความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี

    • การครอบแก้วแบบครอบทิ้งไว้บนผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดจากความเย็น ปวดจากร่างกายเสียสมดุล หรือปวดเฉพาะที่
    • การครอบแก้วแบบเคลื่อนไหวหรือการเดินถ้วย (โจ่วก้วน) เพื่อรักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด และอาการชา
    • การครอบแก้วแบบดึงเร็ว (ส่านก้วน) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวด และชาที่ผิวหนัง หรือสมรรถภาพ (ทางร่างกาย) เสื่อมถอย
    • การครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื่อลั้วป๋าก้วน) ใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง รวมถึงอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
    • การครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็ม และครอบแก้วควบคู่กัน

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
1. โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ ตําแหน่งจุด ต้าจู้เฟิงเหมินเฟ่ยซูอิ๋งชวง

2. โรคระบบทางเดินอาหาร
กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรด เกินในกระเพาะอาหาร ตําแหน่งจุด กานซูผีซูเก๋อซูจางเหมิน ลําไส้อักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตําแหน่งจุด ผีซูเว่ยซูต้าฉางซูเทียนซู

3. โรคระบบหมุนเวียนเลือด
ความดันโลหิตสูง ตําแหน่งจุด กานซูต่านซูผีซูเซิ่นซูเว่ยจงเฉิงซาน จู๋ซานลี่ โรคหัวใจขาดเลือด ตําแหน่งจุด ซินซูเก๋อซูเกาฮวงซูจางเหมิน

4. โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย
ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ตําแหน่งจุด จุดที่กดเจ็บ หรือ บริเวณข้อต่อต่างๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก ตําแหน่งจุด ตามจุดที่ปวดต่างๆ หรือรอบๆข้อต่อต่างๆปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า ตําแหน่งจุด ตําแหน่งที่ปวด และรอบๆข้อต่อ

5. โรคระบบประสาท
ปวดหัวจากระบบประสาท ตําแหน่งจุด จางเหมิน ซีเหมิน และบริเวณปวดชายโครง ปวดเส้นประสาทไซแอทิค ตําแหน่งจุด จื้อเบียน หวนเทียว เว่ยจง โรครูมาตอยด์ตําแหน่งจุด ต้าจุยเกาฮวงซูเซิ่นซูเฟิงซื่อ และบริเวณที่ปวดชา กล้ามเนื้อลําคอหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เจียนจิ่ง ต้าจุย เจียนจงซูเซินจู้ กล้ามเนื้อหดน่องเกร็ง ตําแหน่งจุด เว่ยจงเฉิงซาน และบริเวณที่คนไข้หดเกร็ง เส้นประสาทใบหน้าหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เซี่ยกวน ยิ้นกางเจี๋ยเชอ กระบังลมหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เก๋อซูจิงเหมิน

6. โรคสตรี
ปวดท้องประจําเดือน ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ตกขาว ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ซานอินเจียว อุ้งเชิงกราน ตําแหน่งจุด จื้อเปียน เยาซูกวนหยวน

7. โรคอายุรกรรมภายนอก
ฝีหนอง ตําแหน่งจุด เซินจู้กับบริเวณฝี มีก้อนซีสอักเสบ ตําแหน่งจุด จื้อหยาง

Leave a Reply

Shopping cart

0
image/svg+xml

No products in the cart.

Continue Shopping

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
BEFORE YOU LEAVE, USE THIS CODE

20% off on Your First CBD Product Order

This code cannot be use in any conjunction of sales item and your minimum order should be at least THB 100

CODE: CBDCBDCLINIC2023